เครื่องดนตรีประเภทสี

                                            เครื่องดนตรีไทยประเภทสี

                                                            ซอด้วง 
  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอด้วง

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มี 2 สาย ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของจีน ร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายเมื่อราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือถ้าก่อนนั้นก็คงราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันกับซออู้ มีหน้าที่เป็นผู้ทำทำนองเพลง สีเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง และเป็นผู้นำวง ด้วยเหตุที่เรียก "ซอด้วง" ก็เพราะว่ากะโหลกซอนั้น มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ด้วงดักแย้" 


                                            ซออู้
                                                             

 เป็นเครื่องสีอีกประเภทหนึ่งที่เป็นคู่มากับซอด้วง เข้าใจว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ชนชาติจีนเล่นมาก่อนมารวมเล่นเป็นวงเครื่องสายในระยะเดียวกับซอด้วง มีหน้าที่สีดำเนินทำนองเพลงในลักษณะหยอกยั่วเย้าไปกับผู้ทำทำนองเพลงบางครั้งใช้สีคลอไปกับร้อง ด้วยภายหลังเมื่อมีวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์ไม้นวม จึงได้นำซออู้เข้ามาบรรเลงร่วมด้วย

                          ซอสามสาย

                                                              

      เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่เก่ามาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยมีวิธีการประดิษฐ์ลักษณะของซอได้อย่างปราณีต สวยงาม มีเสียงไพเราะนุ่มนวล เดิมใช้เป็นเครื่องประกอบในพระราชพิธีโดยเฉพาะในวงขับไม้ “ ซึ่งใช้บรรเลงขับกล่อมในพระราชพิธี กล่อมพระอู่ หรือพระราชพิธี"สมโภชน์ขึ้นระวางช้างต้น “ ( พิธีกล่อมช้าง ) เป็นต้น ส่วนประกอบของซอสามสายมีดังนี้กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดที่มีลักษณะนูนเป็นกระพุ้งออกมา 3 ปุ่ม คล้ายวงแหวน 3อัน วางอยู่ในรูปสามเหลี่ยมจึงเป็นสามเส้า ผ่ากะลาให้เหลือปุ่มสามเส้า เพื่อใช้เป็นกะโหลกซอ ขึงขึ้นหน้าซอด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว โดยปิดปากกะลา ขนาดของหน้าซอจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับกะลาที่จะหามาได้ที่กะลา ด้านบนและด้านล่างเจาะรูเพื่อสอดใส่ไม้ยึดคันทวน โดยให้โผล่ตอนบนยาวกว่าตอนล่าง คันทวนทำด้วยไม้แก่นประกบต่อจากกะโหลกซึ่งมี๓

                                                             สะล้อ 

                               


 เป็นเครื่องสีอีกอย่างหนึ่งนิยมบรรเลงเล่นกันในภาคเหนือของไทยดังมีชื่อเรียกกันว่า "วงสะล้อซอซึง " เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไปแอ่วสาว ต่อมาใช้บรรเลงรวมวงกับซึงและปี่จุม เรียกว่า "วงดนตรีพื้นเมืองเหนือสามารถบรรเลงเพลงสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ เช่นเพลงละม้าย จะปุอื่อ ประสาทไหวเพลงเชียงใหม่ฯเป็นต้น เดิมเป็นเครื่องสีที่มี 2 สาย สีด้วยคันชักคล้ายซอด้วงมีวิธีการประดิษฐ์ไม่สู้ปราณีตนัก ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามพื้นบ้านต่อมาภายหลังพบว่าได้มีการสร้างสะล้อขึ้นด้วยความปราณีตสวยงามขึ้นและเพิ่มสะล้อขึ้นเป็น 3 ขนาดคือ
1. สะล้อเล็กมี 2 สาย
2. สะล้อกลางมี 2 สายแต่ใหญ่กว่าสะล้อเล็ก
3. สะล้อใหญ่มี 3 สายขนาดใหญ่กว่าสะล้อกลาง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวัสดีครับ