เครื่องดนตรีไทย ประเภทดีด
กระจับปี่



     กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด หรือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ 7 ซม. ด้านหน้ายาวประมาณ 44 ซม. กว้างประมาณ 40 ซม. ทำคันทวนเรียวยาวประมาณ 138 ซม. ตอนปลายคันทวนมีลักษณะ แบน และบานปลายผายโค้งออกไป ถ้าวัดรวมทั้งคันทวนและตัว กะโหลก จะมีความยาวประมาณ 180 ซม. มีลูกบิดสำหรับขึ้นสาย 4 อัน มีนมรับนิ้ว 11 นมเท่ากับจะเข้ ตรงด้านหน้ากะโหลกมีแผ่นไม้บางๆ ทำเป็นหย่องค้ำสายให้ตุงขึ้น เวลาบรรเลงใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ จับไม้ดีด เขี่ยสายให้เกิดเสียง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาลว่า “ร้องเพลงเรือ เป่าปี่เป่าขลุ่ย สีซอดีดจะเข้ กระจับปี่ตีโทนทับ โห่ร้องนี่นั่น” ต่อมาก็นำมาใช้เป็นเครื่องดีดประกอบการขับไม้ สำหรับบรรเลงในพระราชพิธี แต่เนื่องจากกระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมาก ผู้ดีดกระจับปี่จะต้องนั่งพับเพียบขวาแล้วเอาตัวกระจับปี่ วางบนหน้าขาข้างขวาของตน เพื่อทานน้ำหนัก มือซ้ายถือคันทวนมือ ขวาจับไม้ดีด เป็นที่ลำบากมาก อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นกระจับปี่ ในปัจจุบันจึงหาผู้เล่นได้ยาก
     กระจับปี่ สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจาก ภาษาชวา คำว่า กัจฉปิ ซึ่งคำว่า กัจฉปิ นั้นมีรากฐานของคำศัพท์ ในบาลีสันสกฤต คำว่า กัจฉปะ ที่แปลว่า เต่า เนื่องจากลักษณะของ กระจับปี่นั้น จะมีกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง ซึ่งมองแล้วคล้ายกับกระดองของเต่า

วิธีการใช้และการดูแลรักษา
1.วิธีการนั่งบรรเลงกระจับปี่ ผู้บรรเลงนั่งพับเพียบไปด้านขวา ตัวกระจับปี่วางบนตักของผู้บรรเลง 
มือซ้ายใช้สำหรับกดนมของกระจับปี่ตามเสียงต่างๆ มือขวาจับที่ดีดและดีดสายกระจับปี่
2.การถือกระจับปี่ ให้ถือแนบกับลำตัว โดยตั้งฉากกับพื้น ไม่แกว่งไปแกว่งมาเพื่อป้องกันการกระแทก
3.ควรวางกระจับปี่คว่ำหน้าลง ไม่ควรวางพิงหรือวางชิดขอบเวทีโต๊ะ เพราะกระจับปี่มีโขนที่โค้งงอ 
อาจเกิดการกระทบกระเทือนให้แตกหักหรือเสียหายได้
4.ควรใช้ผ้าที่มีความนุ่มและแห้ง เช็ดกระจับปี่ทุกครั้งหลังจากบรรเลงเสร็จ
5.ควรมีขาตั้งสำหรับวางกระจับปี่โดยเฉพาะ เพื่อสะดวกในการนำเก็บแล้วหยิบใช้งาน


จะเข้



     จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมอญและได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงเป็นเครื่องนำอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย
      ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัวและท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วยแผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัวจะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ทำหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอนหางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจำสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มีหย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสายติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่สำหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงลำดับขึ้นไป ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม.
     เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้ายสำหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีกำลัง เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย ไม้ดีดควรยาวประมาณ 7-8เซนติเมตร มีสายยาวประมาณ 45 เซนติเมตร

วิธีการใช้และการดูแลรักษา
1.วิธีการนั่งบรรเลงจะเข้ ให้นั่งพับเพียบ ตัวตรง โดยด้านกระพุ้งอยู่ด้านซ้ายมือของผู้บรรเลง และด้านลูกบิด อยู่ด้านขวามือของผู้บรรเลง มือซ้ายใช้สำหรับกดนมจะเข้ และมือขวาใช้สำหรับพันไม้ดีด 
และดีดสายจะเข้ ดังต่อไปนี้
2.การอุ้มจะเข้ ต้องอุ้มให้ขนานกับพื้น โดยนำกระพุ้งเข้าแนบด้านข้างของลำตัวให้ส่วนหัวอยู่ทางด้านหน้า
3.เมื่อบรรเลงจะเข้เสร็จ ควรเก็บเข้าชิดข้างฝาผนังหรือด้านในของเวทีเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และป้องกันความเสียหาย
4.การทำความสะอาดจะเข้ควรใช้ผ้าที่มีความนุ่มและแห้งหรือชุบน้ำหมาดๆ เช็ดตัวจะเข้
5.ควรมีผ้าคลุมตัวจะเข้ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง


ซึง

     ซึง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม. กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม. ทั้งกะโหลกและคันทวนใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับ ปี่ซอ หรือ ปี่จุม และ สะล้อ
     แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง (ซึงที่มีขนาดใหญ่)
     แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก 3 และซึงลูก 4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก 4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน)
     อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปาก ว่าเป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และสะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม


วิธีการใช้และการดูแลรักษา
1.วิธีการนั่งบรรเลง ถ้าเป็นผู้ชายสามารถนั่งขัดสมาธิ ผู้หญิงให้นั่งพับเพียบ เนื่องจากผู้หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่นและดูเรียบร้อยสวยงาม โดยวางส่วนกระพุ้งแก้มของซึงไว้ที่หน้าตักของผู้บรรเลง และส่วนหัวของซึงด้านลูกบิดให้ปลายลูกบิดวางตั้งกับพื้น
2.เนื่องจากที่ดีดซึงมีขนาดเล็ก เมื่อบรรเลงเสร็จ ควรเก็บที่ดีดโดยเหน็บไว้กับตัวซึง ผูกเชือกร้อยที่ดีดไว้กับตัวซึง เพื่อป้องกันไม่ให้สูญหาย
3.ไม่ควรพิงซึงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจล้ม หรือตกกระแทกกับพื้นจนเกิดความเสียหายได้
4.ควรมีขาตั้งสำหรับวางซึงโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการนำเก็บและหยิบใช้งาน ควรนำซึงใส่เก็บไว้ในถุงผ้าที่มีขนาดพอดีแล้วนำไปแขวนหรือเก็บ เป็นต้น เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความเสียหาย
5.การถือซึง ให้ถือแนบกับลำตัว ไม่แกว่งไปแกว่งมาเพื่อป้องกันการกระแทก


พิณ

     พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแบบหนึ่ง มีหลายชนิดแตกต่างตามท้องที่ ในภาคอีสานของประเทศไทย พิณอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ซุง" หรือ "เต่ง" จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 หรือ 4 สาย บรรเลงโดยการดีดด้วยวัสดุทีเป็นแผ่นบาง เช่นไม้ไผ่เหลา หรืออาจใช้ปิ้กกีตาร์ดีดก็ได้ สมัยก่อนจะเล่นเครื่องเดียวเพื่อเกี้ยวสาว ปัจจุบันมักใช้บรรเลงในวงดนตรีโปงลาง วงดนตรีลำซิ่ง หรือวงดนตรีลูกทุ่ง


วิธีการใช้และการดูแลรักษา
1.วิธีการบรรเลงพิณอีสาน  ผู้บรรเลงสามารถนั่งหรือยืนบรรเลงก็ได้โดย  มือซ้ายใช้กดสายและนมของพิณ และมือขวาใช้ที่ดีด ดีดสายพิณ
2.การเก็บพิณ สามารถเก็บได้หลายลักษณะดังนี้
2.1พิณที่มีลูกบิดเป็นไม้ ในการวางพิณให้วางพิณหงายขึ้น และการเก็บควรเลือกเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อย หรือนำไปแขวนไว้ตามความเหมาะสม
2.2พิณประยุกต์ คือ พิณที่มีลูกบิดคล้ายลูกบิดของกีตาร์ในการวางให้วางคว่ำ ป้องกันไม่ให้สายพิณลด เพราะอาจทำให้เสียงเพี้ยนได้ การเก็บควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อย หรือนำไปแขวนตามความเหมาะสม
3.ควรใช้ผ้าที่มีความนุ่ม และแห้ง เช็ดพิณทุกครั้งหลังจากบรรเลงเสร็จ
4.ไม่ควรพิงพิณอีสาน เพราะอาจเกิดการล้มหรือกระทบกระเทือน จนเกิดความ เสียหายได้

ประวัติดนตรีไทยประเภทเครื่องสี

ซอด้วง
     

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มี 2 สาย ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของจีน ร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายเมื่อราวต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือถ้าก่อนนั้นก็คงราวปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันกับซออู้ มีหน้าที่เป็นผู้ทำทำนองเพลง สีเก็บถี่ๆบ้าง โหยหวนเป็นเสียงยาวบ้าง เป็นหลักในการดำเนินเนื้อเพลง และเป็นผู้นำวง ด้วยเหตุที่เรียก "ซอด้วง" ก็เพราะว่ากะโหลกซอนั้น มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ด้วงดักแย้" ส่วนประกอบของซอด้วงมีดังนี้

ซออู้
ประวัติดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สวัสดีครับ